วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ปลาทองรันชู



หากจะกล่าวถึงสิ่งที่น่าสนใจของปลาทองรันชูด้วยคำพูดสั้นๆ คงเป็นเรื่องยาก ด้วยเสน่ห์ของปลาทองชนิดนี้ ที่ต่างจากปลาทองชนิดอื่น ทำให้ผู้คนต่างให้ความสนใจและหันมาเริ่มเลี้ยงปลาทองชนิดนี้กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น "การเป็นปลาที่ชื่นชมความงามจากมุมมองด้านบน (TOP VIEW)ความสวยงามของหางที่แสดงถึงพวงหางที่สวยงาม ส่วนหัวที่พอเริ่มมีอายุก็จะมีก้อนเนื้อวุ้นที่เติบโตตามตัวแสดงถึงสัญลักษณ์แห่งมังกร หรือบางทีเน้นที่เขี้ยวปลาดูองอาจมีสง่าราศี เกล็ดที่เรียงรายกันอย่างเป็นระเบียบและสะท้อนรับกับแสงไฟหรือแสงอาทิตย์ สันหลังที่ปราศจากครีบโค้งมนรับกับรูปทรงของตัวปลา และสีสันสวดลายที่สะดุดตาผู้ชมยิ่งนัก จึงไม่แปลกเลยที่ปลาทองรันชูนี้จะดึงดูดความสนใจของผู้ที่ได้พบเห็นมัน และชักชวนให้เริ่มมาเป็นเจ้าของเลี้ยงดูกัน
การเลือกดูลักษณะเด่นของปลาทองรันชู
          
กล่าวคือการเริ่มดูปลาสำหรับนักเลี้ยงปลาทองรันชูมือใหม่นั้นคงจะยังไม่ทราบว่าเขาเริ่มดูจาก ด้านบนของตัวปลา(Top View) เราจึงขอแนะนำท่านให้เริ่มดูกันจากจุดนี้ การตัดสินปลาที่เข้าตากรรมการก็จะใช้หลักเกณฑ์ดังนี้
1. รูปทรงและความสมดุลของปลา เมื่อได้มองจากด้านบนในขณะที่ปลากำลังว่ายอยู่นั้น จะเริ่มพิจารณาลักษณะการว่ายของปลาซึ่งจะมองโดยรวมก่อน หลังจากนั้นก็จะเริ่มดูไล่ลงไปจากส่วนหัว ลำตัวและส่วนหาง สังเกตว่ามีส่วนไหนผิดปกติหรือไม่ตรงตามมาตราฐานหรือไม่ แล้วจึงค่อยลงความเห็นว่าลักษณะการว่ายสมดุลดีหรือเปล่า
2. ความอ้วนของปลา ปลาทองรันชูที่ผอมไปนั้น จัดว่าเป็นปลาทองที่ดูไม่ดี และไม่เป็นที่นิยมมากนัก โดยทั่วไปเมื่อมองที่ความกว้างของลำตัวแล้ว จะต้องสังเกตควบคู่ไปด้วยกับโคนหาง กล่าวคือหากปลามีลำตัวที่ใหญ่ก็จะต้องมีโคนหางที่ใหญ่ตามไปด้วย ถ้าเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่แต่โคนหางเล็ก คะแนนนิยมก็จะตกลงไปมากทีเดียว
3. การเรียงแถวของเกล็ด และ ความสวยงามของสีสันลวดลาย การเรียงลำดับของเกล็ดที่มีขนาดเล็ดนั้นควรจะเรียงเป็นแนวเดียวกันในแต่ละแถวไม่กระจัดกระจาย และเกล็ดควรจะแวววาวสะท้อนแสงไฟ ส่วนสีสันนั้นจะขาวหรือแดงก็ควรจะเป็นสีที่เข้มสด
4ปลาที่มีสง่าราศี เมื่อมองโดยภาพรวมแล้ว รูปโฉมและการว่ายของปลาตัวนั้นต้องดูมีสง่าราศี
5. การว่ายน้ำของปลารันชู สำคัญเหมือนกันเพราะปลาที่ไม่ได้มาตราฐานมันจะมีการว่ายที่บ่งบอกให้รู้เช่นกัน สำหรับลีลาการแหวกว่ายของปลา จะต้องมีลีลาที่ปราดเปรียว ไม่อืดอาดหรือเชื่องช้าและไม่ว่ายด้วยท่าทีที่แปลก ๆ เหมือนจะบ่งบอกให้รู้ถึงลักษณะหางที่ไม่ดี

สีและลวดลายมาตราฐานของปลาทองรันชู
            (1) โคมาโดะ บนส่วนหัวที่เป็นสีแดงจะเห็นเป็นจุดเหลี่ยมสีขาวขนาดเล็กปรากฎ
            (2) โอมาโดะ บนส่วนหัวที่เป็นสีแดงเห็นเป็นจุดเหลี่ยมสีขาวขนาดใหญ่ปรากฎชัดเจน
            (3) เม็ง คาบุร ส่วนหัวเท่านั้นที่เป็นสีแดง ส่วนอื่น ๆ จะป็นสีขาว หรือลวดลายก็ได้
            (4) เม็ง จิโร่ ส่วนหัวเท่านั้นที่เป็นสีขาว ส่วนอื่น ๆ จะป็นสีแดง หรือลวดลายก็ได้
            (5) คันชาชิ บนส่วนหัวที่เป็นสีขาวจะปรากฏสีแดงที่ปลายตาเล็กน้อย
            (6) ตันโจ จะมีสีแดงปรากฏเด่นอยู่ที่ส่วนหัว ซึ่งเป็นสีขาว
            (7) ฮิโนะมาร บนสันหลังที่เป็นสีขาวจะปรากฏเป็นวงกลมสีแดงดุจดังดวงอาทิตย์
            (8) สุอากะ นอกจากบริเวณครีบหางแล้ว ตั้งแต่ส่วนหัวลงมาจะเป็นสีแดงทั้งหมด
            (9) โซโจ ตั้งแต่ส่วนหัวจรดหางจะไม่มีสีอื่น ๆ เลย นอกจากแดงทั้งตัว
            (10) อะสุกิ ซาระสะ มีลวดลายเป็นจุดแต้มสีแดงคล้ายเม็ดถั่วแดงอยู่บริเวณด้านข้างลำตัว
            (11) โคชิ จิโร่ ความหมายตามชื่อก็คือมีส่วนเอวเป็นสีขาว จะสังเกตได้ว่าที่โคนหางเป็นสีขาวคั่นกลาง
            (12) คาสึ บุชิ ลักษณะคล้ายกับสวมหมวกสีแดงคาดอยู่
            (13) อิจิ มงจิเป็นลักษณะที่มีลายพาดขวางสลับเฉียงกันระหว่างสีแดงกับสีขาวเริ่มตั้งแต่ปากลงมา
            (14) คุจิ เบนิ สีขาวเป็นพื้นแต่จะมีสีแดงแต้มที่ริมฝีปากและที่หางอีก จุด


        • อ้างอิง
        • http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-6/no06-08/fish/sec04p03_04.html

ปลาทองตาลูกโป่ง


 หลายเสียงต่างวิจารณ์กันไปต่าง ๆ นานานเกี่ยวกับรูปร่างอันแปลกประหลาดของเจ้าปลาสายพันธุ์นี้ เนื่องจากมันมีเบ้าตาที่ค่อนข้างพิเศษพิศดารกว่าปลาทองพันธุ์อื่น ๆ นั่นคือ เบ้าตาของมันมีความใหญ่โตผิดแผกแตกต่างจากปลาทองโดยทั่วไปโดยสิ้นเชิง เบ้าตาของปลาขนิดนี้มีขนาดใหญ่โตและดูคล้ายมีลูกโป่งติดอยู่ที่ดวงตาของมันและนี่ก็คือที่มาของชื่อ ปลาทองตาลูกโป่งปลาทองพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในประเทศจีน ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือ มีตาที่ใหญ่โตคล้ายมีลูกโป่งห้อยติดอยู่ที่ดวงตาทั้ง ข้าง ยามเมื่อปลาแหวกว่ายลูกโป่งทั้ง ข้าง จะกวัดแกว่งไปมาอย่างน่าหวาดเสียวว่ามันจะแตกหรือเปล่า ความยาวเมื่อโตเต็มที่ของปลาชนิดนี้จะอยู่ในช่วงประมาณ นิ้ว โดยปกติทั่ว ๆ ไปปลาชนิดนี้จะมีสีขาว สีส้ม สีส้มสลับขาว และส้มเหลือง จัดว่าเป็นปลาที่มีสายตาไม่ค่อยดีนักและค่อนข้างเป็นปลาที่เปราะบาง เนื่องจากหากถุงลูกโป่งถูกกระทบกระแทกเพียงเล็กน้อยก็อาจแตกได้ ดังนั้นการเลี้ยงปลาชนิดนี้จำเป็นต้องอาศัยความละเอียดอ่อนและการเอาใจใส่ที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรเลี้ยงปลาชนิดนี้รวมกับปลาชนิดอื่น เพราะตาของมันอาจถูกปลาตัวอื่นตอดทำร้ายจนได้รับอันตรายได้อันที่จริงแล้วปลาทองตาลูกโป่งจัดว่าว่ายน้ำได้เร็ว แต่เนื่องจากส่วนหัวของมันถูกถ่วงไว้ด้วยลูกโป่งจึงทำให้การว่ายน้ำไม่สู้สะดวกนัก โดยเฉพาะปลาที่มีลูกโป่งขนาดใหญ่มาก ๆ จะว่ายน้ำได้เชื่องช้าเป็นพิเศษ แต่ในทางตรงกันข้ามปลาที่มีตาลูกโป่งขนาดใหญ่มาก ๆ นั้น เป็นปลาที่มนุษย์จัดว่ามีคามสวยงามมากเป็นพิเศษปลาชนิดนี้เมื่อมีอายุได้ 6-9 เดือน ถุงเบ้าตาก็จะเริ่มเจริญเติบโตให้เห็นเด่นชัด และเมื่ออายุได้ ปี ก็จะเจริญพันธุ์เต็มที่ ส่วนปัญหาที่มักเกิดกัปลาชนิดนี้ คือ อาการตกเลือดที่ถุงเบ้าตา วิธีแก้ก็โดยการใช้เข็มเจาะเอาเลือดที่ตกค้างอยู่ในนั้นออก จากนั้นไม่นานลูกโป่งก็จะหายเป็นปกติ ส่วนกรณีที่ตาลูกโป่งของปลาเกิดการกระทบกระแทกจนลูกโป่งแตก หากไม่รุนแรงนักปลาก็หายเป็นปกติในไม่ช้า แต่ถ้ากระแทกอย่างรุนแรงปลาอาจตายได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในช่วงการดูดเปลี่ยนน้ำไม่ควรให้ปลาว่ายเข้าใกล้ท่อดูดน้ำมากนักเพราะลูกโป่งอาจถูกท่อดูดจนแตกได้อ่างที่ใช้เลี้ยงควรเป็นอ่างที่มีปากอ่างกว้างเพื่อป้องกันไม่ให้ปลาว่ายไปชนถูกขอบอ่างจนทำให้ปลาได้รับบาดเจ็บ สำหรับระดับน้ำที่ใช้เลี้ยงก็ไม่ควรต่ำกว่า นิ้ว แต่ไม่ควรสูงเกินกว่า นิ้ว เพราะถ้าหากระดับน้ำสูงเกินไปจะทำให้ปลาเสียการทรงตัวได้ง่าย และลูกโป่งจะเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ขณะเดียวกันหากระดับน้ำต่ำมากเกินไปก็อาจทำให้ถุงน้ำเบ้าตาถูถูกพื้นอ่างอยู่เสมอ ๆ จนเป็นเหตุให้ถุงอาจแตกปลาชนิดนี้จะมีอายุได้ราว 5-10 ปี ซึ่งจัดว่าค่อนข้างมีอายุสั้นเมื่อเทียบกับพันธุ์อื่น ๆ ปลาชนิดนี้นอกจากจะเลี้ยงยากแล้ว ยังให้ลูกได้น้อยอีกด้วย และเป็นปลาที่มีอัตราการเติบโตที่ค่อนข้างช้า ในขณะที่ลูกปลาชนิดนี้ที่มีขนาดเล็กก็ไม่เป็นที่นิยมของนักเลี้ยงปลาเท่าใดนัก เนื่อจากลูกปลายังไม่มีลูกโป่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ที่สามารถจะดึงดูดความสนใจจากนักเลี้ยงปลาได้ อีกทั้งปลาชนิดนี้หาที่มีรูปร่างและสัดส่วนที่สมบูรณ์ค่อนข้างยาก แต่ถึงอย่างไรก็ตามเมื่อปลาชนิดนี้โตเต็มที่ก็จะเริ่มเป็นที่นิยมเลี้ยงกันพอสมควร เพราะเอกลักษณ์เฉพาะตัวจะเริ่มปรากฏให้เห็นเด่นชัด

ปลาทองญี่ปุ่น

จากการสืบค้นหาข้อมูลจากเอกสาร และคำบอกเล่าจากผู้หลักผู้ใหญ่ที่คลุกคลีอยู่กับวงการปลาสวยงามในยุคนั้น เพื่อให้กระจ่างว่าสิงห์ญี่ปุ่นถูกนำเข้ามาในยุคสมัยใด และสืบลึกลงไปอีกว่าใครเป็นผู้นำเข้ามา ข้อมูลที่ได้รับเมื่อนำมาประมวลถึงความเป็นไปได้แล้ว ทำให้ได้ข้อสรุปว่า สิงห์ญี่ปุ่นปลาทองสุดคลาสสิคของเมืองไทยได้ถูกนำเข้ามาเมื่อประมาณ 40 ปีที่แล้วภายหลังการเข้ามาของสิงห์จีนไม่นาน แต่ไม่สามารถระบุปีพ.ศ.ได้ชัดเจน เนื่องจากไม่มีผู้ใดบันทึกหลักฐานไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

ในยุคนั้นปลาสวยงามแทบทุกสายพันธุ์จะถูกนำเข้ามาจากประเทศจีนโดยผ่านตลาดใหญ่อย่างฮ่องกงและสิงค์โปร บางชนิดกูถูกนำเข้ามาจากญี่ปุ่นอาทิเช่น ปลาคาร์พ และปลาทอง รวมทั้งสิงห์ญี่ปุ่นซึ่งเป็นปลาทองที่ถือกำเนิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ชื่อของปลาทองหัวสิงห์ชนิดนี้จึงมาจากชื่อประเทศที่เป็นต้นตำรับในการเพาะพันธุ์นั้นเอง

จากคำบอกเล่าขของคุณวิฑูร เทียนรุ่งศรี แห่งบริษัทไวท์เครนอควาเรียม ประเทศไทย จำกัด ที่เป็นผู้นำเข้าปลาสวยงามรายหนึ่งในยุคสมัยเกือบๆ 40ปีที่แล้ว ทำให้ผมทราบว่า ผู้นำเข้าปลาสวยงามจากประเทศญี่ปุ่นรายใหญ่ในยุคนั้นก็คือ NAN Supply หรือที่คนในวงการรู้จักกันในชื่อเจ๊ณีย์ที่เป็นผู้นำเข้าปลาคาร์พและปลาทองจากประเทศญี่ปุ่น ร้านขายปลาที่เป็นทั้งสถานที่โชว์และระบายสินค้าในยุคนั้นตั้งอยู่ตรงบริเวณตรงข้ามห้างสรรพสินค้ามาบุญครองในปัจจุบัน

เจ๊ณีย์น่าจะเป็นผู้นำเข้ารายแรกๆที่นำเข้าสิงห์ญี่ปุ่นเข้ามาทำตลาดอย่างจริงจังในเมืองไทย และได้รับการตอบรับจากนักเองปลาทองในสมัยนั้นอย่างล้นหลาม เนื่องจากเป็นของใหม่ และเป็นปลาที่มีความสวยงามตรงกับรสนิยมการเลี้ยงปลาของคนไทยที่นิยมดูปลาในตู้ ต่างจากสิงห์จีนที่ถูกนำเข้ามาก่อนหน้านี้ เป็นปลาที่หัวโต วุ้นมาก หลังไม่โค้ง หางตก ที่เหมาะแก่การเลี้ยงไว้ดูในอ่างมากกว่า สนนราคาขายของสิงห์ญี่ปุ่นในยุคนั้นหากเป็นปลาที่สวยและตัวใหญ่จะมีราคาถึง 2,000-3,000 บาทเลยทีเดียว หากเปรียบเทียบยุคนี้ ราคาขนาดนี้ถือว่าไม่แพงเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นยุคนั้น ในขณะที่ก๊วยเตี๋ยวราคายังชามละ 3-5 บาท ราคาขนาดนั้นก็ถือว่าแพงเอาการอยู่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นกลุ่มคนเลี้ยงสิงห์ญี่ปุ่นในยุคนั้นจะต้องมีฐานะอยู่พอสมควร

ในเวลาไล่เลี่ยกันนั้นเอง เจ้านายพระองค์หนึ่งในยุคนั้น คือพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภานุพันธ์ ยุคล ได้ทรงนำเข้าปลาทองสิงห์ญี่ปุ่นมาเลี้ยงเล่นในหมู่ญาติสนิทมิตรสหาย เมื่อปลาที่เลี้ยงแพร่พันธุ์จนมีจำนวนมาขึ้น ก็ได้ทรงแจกจ่ายให้กับผู้เพาะพันธุ์ปลาทองในยุคนั้นนำไปเพาพันธุ์ต่อ ผู้เพาะพันธุ์ในยุคนั้นต่างก็ได้อานิสงส์จากตรงนี้ไปตามๆกันต่อมาผู้เพาะพันธุ์หลายรายก็ได้ขยายการเพาะเลี้ยงไปสู่ระบบเกษตรกรรมเต็มตัว คือมีการเพาะเลี้ยงกันในบ่อดินมากยิ่งขึ้น ผู้เพาะพันธุ์ปลาทองบ่อดินที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นก็คือ คุณมัก ราชาปลาทอง ที่ไปบุกเบิกการเลี้ยงปลาทองบ่อดินในย่านบางปู สมุทรปราการ ส่วนสิงห์ญี่ปุ่นอีกสายที่ถูกนำเข้าในเวลาต่อมา และสร้างความฮือฮาให้กับวงการปลาทองในยุคนั้นก็คือ สิงห์โอซาก้าที่เป็นปลาทองที่นำเข้ามาจากญี่ปุ่นเช่นกัน

เทรนด์ยอดฮิตในอดีต

ก่อนหน้าที่สิงห์ญี่ปุ่นจะถูกนำเข้ามา นักเลี้ยงปลาทองในสมัยนั้นคุ้นเคยกับภาพสิงห์จีนหัวต วุ้นเป็นเม็ดเล็กๆฟูเต็มหน้า หลังค่อนข้างลาดตรง มีความโค้งเพียงเล็กน้อย ต่อมาเมื่อมีการนำเข้าสิงห์ญี่ปุ่นเข้ามาในเมืองไทย ก่อให้เกิดกระแสความนิยมแพร่ขยายไปในวงกว้าง เนื่องจากเป็นปลาที่มีลักษณะตรงตามรสนิยมชมความงามของปลาจากด้านข้าง (Sideview View)

นักเลี้ยงปลารุ่นเก่ากึ้กหลายท่านให้ข้อมูลตรงกันว่า คุณลักษณะที่ทำให้สิงหืญี่ปุ่นได้รับความนิยมในยุคเกือบๆ 40 ปีที่แล้วก็คือ เป็นปลาที่มีวุ่นจับกันเป็นแผ่นแน่นไม่ละเอียดฟูเหมือนสิงห์จีน หลังโค้งได้รูป แต่ไม่ค่อยมีความเนียนหางกระดกได้องศาที่ดีกว่าสิงห์จีน แต่คงไม่ดีกว่าปลายุคนี้ มีวุ้นเหนือริมฝีปากที่เรียกว่าเขี้ยวแต่เพียงเล็กน้อย ไม่เหมือนสิงห์ญี่ปุ่นในสมัยนี้ที่วุ้นบริเวณนี้ยื่นออกมาเป็นเม็ดกลม หรือม้วนขึ้นมองเห็นอย่างชัดเจน เพราะฉะนั้นคำกล่าวที่ว่า สิงห์ญี่ปุ่นยุคก่อนไม่มีเขี้ยวจึงไม่มีความเป็นจริงเลย แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะยังมีสิวห์ญี่ปุ่นอีกสายหนึ่งที่ถูกนำเข้ามาภายหลัง เป้นสิงห์ญี่ปุ่นที่หลังโค้งเป็นรูปไข่ผ่าซีก ตามอุดมคติของนักเลี้ยงปลาเมืองไทย เสียอยู่อย่างเดียวคือมีวุ้นน้อย บางตัวนั้นหน้าแทบโล้นเตียนเหมือนกับคนหัวล้านเลย คนไทยเรียกสิงห์ญี่ปุ่นชนิดนี้ว่า สิงห์โอซาก้าสันนิษฐานว่า เรียกตามชื่อเมืองโอซาก้า เมืองที่มีการเลี้ยงสิงห์ญี่ปุ่นชนิดนี้อย่างแพร่หลาย แต่ถึงแม้ว่าสิงห์โอซาก้าจะ
  มีจุดด้อยเรื่องของหน้า แต่ก็มีจุดเด่นในเรื่องความโค้งของหลัง ซึ้งถูกอกถูกใจคนไทย ทำให้สิงห์โอซาก้าได้ถูกนำไปพัฒนาต่อยอด โดยการผสมกับสิงห์ญี่ปุ่นสายเดิมที่ถูกนำเข้ามาก่อน จนกลายเป็นสิงห์ญี่ปุ่นที่มีความครบเครื่องมากยิ่งขึ้น

สำหรับความหลากหลายของสีสันของสิงห์ญี่ปุ่นในยุคก่อนมีนักเลี้ยงรุ่นเก่าหลายท่านบิกว่า ไม่ต่างกับยุคนี้มากนัก สีพื้นฐานที่มีในตอนนั้นก็คือ สีจำปา สีทองคำเปลว หรือทองซีดๆ มีเขียว ซึ่งเป็นลักษณะของปลาที่ไม่ลอก ยุคหนึ่งเมื่อประมาณปี 2530 นักเพาะพันธุ์ ย่านอุดมสุขและบางนาได้พัฒนาปลาสีขาวทั้งตัวและเกล็ดเป็นประกายเงามามขึ้นมา เรียกว่าสิงห์ญี่ปุ่นเกล็ดมุก เป็นที่สนใจขิงคนในวงการมากพอสมควร ส่วนสีขาวแดงที่เป็นสียอดนิยมในตอนนี้เมื่อก่อนยังมีจำนวนน้อย แต่ใช่ว่าจะหาตัวที่สวยๆไม่ได้เลย ท่านอาจารย์เฉลิมวิไล ชื่นศรี แห่งคณะประมง มหาวิทยาลัยเกตรศาสตร์ ซึ่งเป็นคณะกรรมการตัดสินในงานประกวดเมื่อ 20 ปีที่แล้วได้รื้อฟื้นความทรงจำให้ฟังว่า ครั้งหนึ่งที่ตนทำการตัดสินในงานประกวดงานหนึ่ง เคยเห็นปลาที่หัวเป็นสีแดง ลำตัวสีขาวมุก สวยงามมากที่ปัจจุบันในวงการเรียกว่า หัวควั่นแดง คือปลาที่หัวเป็นสีแดง ลำตัวเป็นสีขาว ครีบทุกครีบเป็นสีแดง นั่นแสดงว่าในยุคอดีตสิงห์ญี่ปุ่นก็มีความหลากหลายของสีสันมากพอสมควร เพียงแต่ว่าการเพาะพันธุ์ไม่ได้ให้ความสนใจที่จะพัฒนากันอย่างจริงจังเหมือนในสมัยนี้


ปลาทอง


ปลาทอง บางครั้งนิยมเรียกว่า ปลาเงินปลาทอง (อังกฤษGoldfish) เป็นปลาน้ำจืด อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าCarassius auratus เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น โดยดั้งเดิมถือเป็นปลาที่ถูกนำมาบริโภคกันเป็นอาหาร ต่อมาได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์มาไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี จนกลายเป็นปลาสวยงามหลากหลายสายพันธุ์ในปัจจุบัน
โดยปลาทองเชื่อว่า เป็นปลาสวยงามชนิดแรกที่มนุษย์เลี้ยง จากหลักฐานที่ปรากฏไม่ต่ำกว่า 2,000 ปีมาแล้ว เป็นรูปสลักปลาทองหลากหลายสีว่ายรวมกันอยู่ในบ่อที่ประเทศจีน ถือเป็นประเทศแรกที่เลี้ยงปลาทอง แต่ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้พัฒนาสายพันธุ์ปลาทองให้มีความสวยงามและหลากหลายมาจนปัจจุบัน โดยเมืองแรกที่ทำการเลี้ยง คือ ซะไก ในจังหวัดโอซะกะ ในราวปี ค.ศ. 1502-ค.ศ. 1503 แต่กลายมาเป็นที่นิยมเมื่อเวลาต่อมาอีกราว 100 ปี ถึงขนาดมีร้านขายปลาทองเปิดกันเป็นจำนวนมาก
ปลาทองมีรูปร่างอ้วน ป้อม มีเกล็ดแบบบางเรียบ ครีบอกกลมแบน ครีบหางเป็นรูปพัด เป็นปลากินพืช และแมลงน้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เป็นปลาที่ตะกละสามารถกินอาหารได้ตลอดทั้งวัน ตัวผู้เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มสิวขึ้นตามครีบอกและใบหน้า ปลาตัวท้องช่องท้องจะอูมเป่งออก วางไข่ตามพืชน้ำ ไข่ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2 วัน
ปลาทองมีสีหลากหลายตั้งแต่สีแดงสีทองสีส้มสีเทาสีดำและสีขาว แม้กระทั่งสารพัดสีในตัวเดียวกัน ในธรรมชาติชอบอาศัยตามหนองน้ำและลำคลองที่ติดกับแม่น้ำ อาจมีอายุได้ถึง 20-30 ปี ถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในยุโรปเมื่อศตวรรษที่ 17 และถูกนำไปเผยแพร่ในอเมริกา ในศตวรรษที่ 19 สำหรับในประเทศไทย เชื่อว่าปลาทองเข้าในสมัยอยุธยาตอนกลางเพื่อเป็นของบรรณาการในราชสำนักราว ๆ ค.ศ. 1370-ค.ศ. 1489ในปัจจุบันมักเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และปลาทองที่เลี้ยงไว้ดูเล่นจะมีช่วงชีวิต ประมาณ 7-8 ปี พบจำนวนน้อยมากที่มีอายุถึง 20 ปี ปัจจุบันประเทศจีน,ฮ่องกงสิงคโปร์ และญี่ปุ่น เป็นศูนย์กลางการส่งออกปลาทองที่ใหญ่ที่สุด
สำหรับในประเทศไทย การเลี้ยงปลาทองในฐานะปลาสวยงามในยุคปัจจุบัน เริ่มขึ้นหลังปี ค.ศ. 1960 ซึ่งความนิยมจะเริ่มขึ้นจากพื้นที่กรุงเทพมหานครก่อนจะขยายไปตามจังหวัดต่าง ๆ จนปัจจุนมีฟาร์มปลาทองมากมาย มีปลาหลากหลายสายพันธุ์ ทั้งเกรดสูงที่มีราคาแพง และเกรดธรรมดาทั่วไป
มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาทองมีไม่ต่ำกว่า 100 สายพันธุ์ ซึ่งบางสายพันธุ์จนถึงปัจจุบันก็ได้หายสาบสูญไปตามกาลเวลาก็มี โดยสายพันธุ์แรกที่มีการเลี้ยงคือ ฮิฟุนะ ซึ่งมีรูปร่างเหมือนปลาทองดั้งเดิมในธรรมชาติ แต่ว่ามีสีทอง ต่อมาก็ถูกพัฒนาจนกลายเป็นปลาทองที่มีหาง 3 แฉก เรียกว่า วากิ้นและจากวาคิ้นก็ถูกพัฒนาจนกลายมาเป็นปลาทองหาง 4 แฉก คือ จิกิ้น จนในที่สุดก็กลายมาเป็นริวกิ้นในที่สุด
นอกจากนี้แล้วสายพันธุ์ที่เรียกว่า มารุโกะ ก็เป็นบรรพบุรุษของปลาทองสายพันธุ์หัวสิงห์ต่าง ๆ และสายพันธุ์เดเมกิ้น ก็เป็นบรรพบุรุษของปลาทองสายพันธุ์ตาโปนต่าง ๆ
ปลาทองสามารถแบ่งออกตามลักษณะลำตัวได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.กลุ่มที่มีลำตัวแบนยาวมีลำตัวแบนข้าง และมีครีบหางเดี่ยว ยกเว้นวากิ้นซึ่งมีครีบหางคู่ ปลาในกลุ่มนี้มักจะว่ายน้ำได้รวดเร็ว ปราดเปรียว ทนทานต่อโรคต่าง ๆ และเจริญเติบโตได้เร็วกว่า ปลาทองที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ โคเมทชูบุงกิ้นวากิ้น เป็นต้น
2.กลุ่มที่มีลำตัวกลมหรือรูปไข่ถือเป็นกลุ่มที่มีจำนวนสายพันธุ์หลากหลายมากที่สุด ซึ่งเป็นกลุ่มที่ว่ายน้ำได้ไม่ดี อาจจะว่ายหัวตก มีลักษณะสำคัญที่ครีบ หัวและนัยน์ตาที่แตกต่างหลากหลายกัน โดยแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีครีบหลัง ได้แก่ ออรันดาเกล็ดแก้วรักเล่แพนด้าโทะซะกิน เป็นต้น กับ กลุ่มที่ไม่มีครีบหลัง ได้แก่ สิงห์จีนสิงห์ญี่ปุ่นสิงห์ดำตามิดรันชูลูกโป่งตากลับ เป็นต้น
การเลี้ยงตามความเชื่อ
นอกจากนี้แล้ว การเลี้ยงปลาทองยังอยู่ในความเชื่อของชาวจีนอีกด้วยว่าก่อให้เกิดโชคลาภ โดยว่ากันตามหลักฮวงจุ้ยว่ากันด้วยเรื่องจำนวนของปลาที่เลี้ยง, สีของปลา และตำแหน่งการวางตู้ปลาหรือบ่อเลี้ยงด้วย ซึ่งแตกต่างออกไปตามลักษณะของบ้านและเจ้าของ

อ้างอิง

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87