วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ปลาทองญี่ปุ่น

จากการสืบค้นหาข้อมูลจากเอกสาร และคำบอกเล่าจากผู้หลักผู้ใหญ่ที่คลุกคลีอยู่กับวงการปลาสวยงามในยุคนั้น เพื่อให้กระจ่างว่าสิงห์ญี่ปุ่นถูกนำเข้ามาในยุคสมัยใด และสืบลึกลงไปอีกว่าใครเป็นผู้นำเข้ามา ข้อมูลที่ได้รับเมื่อนำมาประมวลถึงความเป็นไปได้แล้ว ทำให้ได้ข้อสรุปว่า สิงห์ญี่ปุ่นปลาทองสุดคลาสสิคของเมืองไทยได้ถูกนำเข้ามาเมื่อประมาณ 40 ปีที่แล้วภายหลังการเข้ามาของสิงห์จีนไม่นาน แต่ไม่สามารถระบุปีพ.ศ.ได้ชัดเจน เนื่องจากไม่มีผู้ใดบันทึกหลักฐานไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

ในยุคนั้นปลาสวยงามแทบทุกสายพันธุ์จะถูกนำเข้ามาจากประเทศจีนโดยผ่านตลาดใหญ่อย่างฮ่องกงและสิงค์โปร บางชนิดกูถูกนำเข้ามาจากญี่ปุ่นอาทิเช่น ปลาคาร์พ และปลาทอง รวมทั้งสิงห์ญี่ปุ่นซึ่งเป็นปลาทองที่ถือกำเนิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ชื่อของปลาทองหัวสิงห์ชนิดนี้จึงมาจากชื่อประเทศที่เป็นต้นตำรับในการเพาะพันธุ์นั้นเอง

จากคำบอกเล่าขของคุณวิฑูร เทียนรุ่งศรี แห่งบริษัทไวท์เครนอควาเรียม ประเทศไทย จำกัด ที่เป็นผู้นำเข้าปลาสวยงามรายหนึ่งในยุคสมัยเกือบๆ 40ปีที่แล้ว ทำให้ผมทราบว่า ผู้นำเข้าปลาสวยงามจากประเทศญี่ปุ่นรายใหญ่ในยุคนั้นก็คือ NAN Supply หรือที่คนในวงการรู้จักกันในชื่อเจ๊ณีย์ที่เป็นผู้นำเข้าปลาคาร์พและปลาทองจากประเทศญี่ปุ่น ร้านขายปลาที่เป็นทั้งสถานที่โชว์และระบายสินค้าในยุคนั้นตั้งอยู่ตรงบริเวณตรงข้ามห้างสรรพสินค้ามาบุญครองในปัจจุบัน

เจ๊ณีย์น่าจะเป็นผู้นำเข้ารายแรกๆที่นำเข้าสิงห์ญี่ปุ่นเข้ามาทำตลาดอย่างจริงจังในเมืองไทย และได้รับการตอบรับจากนักเองปลาทองในสมัยนั้นอย่างล้นหลาม เนื่องจากเป็นของใหม่ และเป็นปลาที่มีความสวยงามตรงกับรสนิยมการเลี้ยงปลาของคนไทยที่นิยมดูปลาในตู้ ต่างจากสิงห์จีนที่ถูกนำเข้ามาก่อนหน้านี้ เป็นปลาที่หัวโต วุ้นมาก หลังไม่โค้ง หางตก ที่เหมาะแก่การเลี้ยงไว้ดูในอ่างมากกว่า สนนราคาขายของสิงห์ญี่ปุ่นในยุคนั้นหากเป็นปลาที่สวยและตัวใหญ่จะมีราคาถึง 2,000-3,000 บาทเลยทีเดียว หากเปรียบเทียบยุคนี้ ราคาขนาดนี้ถือว่าไม่แพงเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นยุคนั้น ในขณะที่ก๊วยเตี๋ยวราคายังชามละ 3-5 บาท ราคาขนาดนั้นก็ถือว่าแพงเอาการอยู่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นกลุ่มคนเลี้ยงสิงห์ญี่ปุ่นในยุคนั้นจะต้องมีฐานะอยู่พอสมควร

ในเวลาไล่เลี่ยกันนั้นเอง เจ้านายพระองค์หนึ่งในยุคนั้น คือพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภานุพันธ์ ยุคล ได้ทรงนำเข้าปลาทองสิงห์ญี่ปุ่นมาเลี้ยงเล่นในหมู่ญาติสนิทมิตรสหาย เมื่อปลาที่เลี้ยงแพร่พันธุ์จนมีจำนวนมาขึ้น ก็ได้ทรงแจกจ่ายให้กับผู้เพาะพันธุ์ปลาทองในยุคนั้นนำไปเพาพันธุ์ต่อ ผู้เพาะพันธุ์ในยุคนั้นต่างก็ได้อานิสงส์จากตรงนี้ไปตามๆกันต่อมาผู้เพาะพันธุ์หลายรายก็ได้ขยายการเพาะเลี้ยงไปสู่ระบบเกษตรกรรมเต็มตัว คือมีการเพาะเลี้ยงกันในบ่อดินมากยิ่งขึ้น ผู้เพาะพันธุ์ปลาทองบ่อดินที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นก็คือ คุณมัก ราชาปลาทอง ที่ไปบุกเบิกการเลี้ยงปลาทองบ่อดินในย่านบางปู สมุทรปราการ ส่วนสิงห์ญี่ปุ่นอีกสายที่ถูกนำเข้าในเวลาต่อมา และสร้างความฮือฮาให้กับวงการปลาทองในยุคนั้นก็คือ สิงห์โอซาก้าที่เป็นปลาทองที่นำเข้ามาจากญี่ปุ่นเช่นกัน

เทรนด์ยอดฮิตในอดีต

ก่อนหน้าที่สิงห์ญี่ปุ่นจะถูกนำเข้ามา นักเลี้ยงปลาทองในสมัยนั้นคุ้นเคยกับภาพสิงห์จีนหัวต วุ้นเป็นเม็ดเล็กๆฟูเต็มหน้า หลังค่อนข้างลาดตรง มีความโค้งเพียงเล็กน้อย ต่อมาเมื่อมีการนำเข้าสิงห์ญี่ปุ่นเข้ามาในเมืองไทย ก่อให้เกิดกระแสความนิยมแพร่ขยายไปในวงกว้าง เนื่องจากเป็นปลาที่มีลักษณะตรงตามรสนิยมชมความงามของปลาจากด้านข้าง (Sideview View)

นักเลี้ยงปลารุ่นเก่ากึ้กหลายท่านให้ข้อมูลตรงกันว่า คุณลักษณะที่ทำให้สิงหืญี่ปุ่นได้รับความนิยมในยุคเกือบๆ 40 ปีที่แล้วก็คือ เป็นปลาที่มีวุ่นจับกันเป็นแผ่นแน่นไม่ละเอียดฟูเหมือนสิงห์จีน หลังโค้งได้รูป แต่ไม่ค่อยมีความเนียนหางกระดกได้องศาที่ดีกว่าสิงห์จีน แต่คงไม่ดีกว่าปลายุคนี้ มีวุ้นเหนือริมฝีปากที่เรียกว่าเขี้ยวแต่เพียงเล็กน้อย ไม่เหมือนสิงห์ญี่ปุ่นในสมัยนี้ที่วุ้นบริเวณนี้ยื่นออกมาเป็นเม็ดกลม หรือม้วนขึ้นมองเห็นอย่างชัดเจน เพราะฉะนั้นคำกล่าวที่ว่า สิงห์ญี่ปุ่นยุคก่อนไม่มีเขี้ยวจึงไม่มีความเป็นจริงเลย แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะยังมีสิวห์ญี่ปุ่นอีกสายหนึ่งที่ถูกนำเข้ามาภายหลัง เป้นสิงห์ญี่ปุ่นที่หลังโค้งเป็นรูปไข่ผ่าซีก ตามอุดมคติของนักเลี้ยงปลาเมืองไทย เสียอยู่อย่างเดียวคือมีวุ้นน้อย บางตัวนั้นหน้าแทบโล้นเตียนเหมือนกับคนหัวล้านเลย คนไทยเรียกสิงห์ญี่ปุ่นชนิดนี้ว่า สิงห์โอซาก้าสันนิษฐานว่า เรียกตามชื่อเมืองโอซาก้า เมืองที่มีการเลี้ยงสิงห์ญี่ปุ่นชนิดนี้อย่างแพร่หลาย แต่ถึงแม้ว่าสิงห์โอซาก้าจะ
  มีจุดด้อยเรื่องของหน้า แต่ก็มีจุดเด่นในเรื่องความโค้งของหลัง ซึ้งถูกอกถูกใจคนไทย ทำให้สิงห์โอซาก้าได้ถูกนำไปพัฒนาต่อยอด โดยการผสมกับสิงห์ญี่ปุ่นสายเดิมที่ถูกนำเข้ามาก่อน จนกลายเป็นสิงห์ญี่ปุ่นที่มีความครบเครื่องมากยิ่งขึ้น

สำหรับความหลากหลายของสีสันของสิงห์ญี่ปุ่นในยุคก่อนมีนักเลี้ยงรุ่นเก่าหลายท่านบิกว่า ไม่ต่างกับยุคนี้มากนัก สีพื้นฐานที่มีในตอนนั้นก็คือ สีจำปา สีทองคำเปลว หรือทองซีดๆ มีเขียว ซึ่งเป็นลักษณะของปลาที่ไม่ลอก ยุคหนึ่งเมื่อประมาณปี 2530 นักเพาะพันธุ์ ย่านอุดมสุขและบางนาได้พัฒนาปลาสีขาวทั้งตัวและเกล็ดเป็นประกายเงามามขึ้นมา เรียกว่าสิงห์ญี่ปุ่นเกล็ดมุก เป็นที่สนใจขิงคนในวงการมากพอสมควร ส่วนสีขาวแดงที่เป็นสียอดนิยมในตอนนี้เมื่อก่อนยังมีจำนวนน้อย แต่ใช่ว่าจะหาตัวที่สวยๆไม่ได้เลย ท่านอาจารย์เฉลิมวิไล ชื่นศรี แห่งคณะประมง มหาวิทยาลัยเกตรศาสตร์ ซึ่งเป็นคณะกรรมการตัดสินในงานประกวดเมื่อ 20 ปีที่แล้วได้รื้อฟื้นความทรงจำให้ฟังว่า ครั้งหนึ่งที่ตนทำการตัดสินในงานประกวดงานหนึ่ง เคยเห็นปลาที่หัวเป็นสีแดง ลำตัวสีขาวมุก สวยงามมากที่ปัจจุบันในวงการเรียกว่า หัวควั่นแดง คือปลาที่หัวเป็นสีแดง ลำตัวเป็นสีขาว ครีบทุกครีบเป็นสีแดง นั่นแสดงว่าในยุคอดีตสิงห์ญี่ปุ่นก็มีความหลากหลายของสีสันมากพอสมควร เพียงแต่ว่าการเพาะพันธุ์ไม่ได้ให้ความสนใจที่จะพัฒนากันอย่างจริงจังเหมือนในสมัยนี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น